ความเป็นมา
สำนักวิทยบริการ มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา ได้เปิดดำเนินในปีพุทธศักราช 2541 เป็นอาคาร 2 ชั้น โดยให้บริการยืม-คืนทรัพยากร งานบริการตอบคำถามและช่วยการค้นคว้า งานบริการวารสารและหนังสือพิมพ์ โดยมีพื้นที่ใช้สอย 1,710 ตารางเมตร เพื่อรองรับผู้ใช้บริการ จำนวน 550 คน ส่วนอาคารหลังที่ 2 เป็นอาคาร 3 ชั้น โดยทำการเชื่อมต่อกัน จัดให้บริการหนังสือภาษาไทยและต่างประเทศ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และสื่อโสตทัศน์ พื้นที่การให้บริการ ชั้น 1 บริการยืม-คืน บริการหนังสือ นวนิยาย เรื่องสั้น ห้องวารสาร และมุมดิจิทัลโซน ชั้น 2 ห้องหนังสือทั่วไป ห้องสมุดวิจัย ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องศึกษาค้นคว้ากลุ่ม-เดี่ยว ห้องเรียนของบัณฑิตศึกษา ห้องปฏิบัติการสาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว ชั้น 3 ห้องประชุม
วิวัฒนาการสำนักวิทยบริการ
พ.ศ. 2541 เปิดให้บริการยืม-คืนหนังสือ วารสารและหนังสือพิมพ์ มีบรรณารักษ์ 3 อัตรา
และมีเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 2 อัตรา
พ.ศ. 2542-2543 เปิดให้บริการโสตทัศนวัสดุ / รับบรรณารักษเพิ่มขึ้นเป็น 5 อัตรา
และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด 1 อัตรา
พ.ศ. 2544 เริ่มมีการพพัฒนาระบบงานห้องสมุดโดยใช้โปรแกรมซึ่งเขียนโดยคณาจารย์
มหาวิทยาลัยเจ้าพระยา และเริ่มระบบสืบค้นและระบบยืมคืนด้วยคอมพิวเตอร์
พ.ศ. 2545-2546 มหาวิทยาลัยเจ้าพระยาได้เริ่มสร้างอาคารสำนักวิทยบริการ อีกหนึ่งอาคาร
เป็นอาคาร 3 ชั้นเชื่อมต่อกับ อาคารเดิม / สำนักหอสมุดได้นำโปรแกรมห้องสมุด
อัตโนมัติ Alice for Windows เข้ามาใช้
พ.ศ. 2547 ทำพิธีเปิดอาคารสำนักวิทยบริการอีกอาคาร คือ อาคารศิริวิริยะกุล 2 และได้ย้าย
หนังสือทั่วไปภาษาไทยและ
วารสารฉบับปัจจุบันไปให้บริการที่ชั้น 2 ส่วนหนังสือ
ภาษาต่างประเทศและหนังสืออ้างอิงไปให้บริการที่ชั้น 3 นอกจากนี้ยังริเริ่มจัดทำ
จุลสารร่มราชพฤกษ์
พ.ศ. 2548-2549 ได้มีการพัฒนารูปแบบการให้บริการให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต โดยการให้การ
บริการด้านบันเทิง อาทิ ห้องฉายภาพยนตร์ ห้องบริการคาราโอเกะ
บริการ Digital Library
พ.ศ.2557  รวมหนังสือภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้รวมกันในห้องหนังสือทั่วไป ห้องสมุดวิจัย
เพื่อให้บริการทางด้านวิจัย ดุษฎีนิพนธ์ วิทยานิพนธ์ การค้นคว้าอิสระ ตลอดจน
โครงงาน
ปรับภูมิทัศน์บริเวณชั้น 1 โดยทำเป็นมุมนวนิยาย
พ.ศ.2560 ทำการ Upgrade Version ใหม่ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ Liberty
พ.ศ.2561 แยกหนังสือใหม่ 8 ปีย้อนหลังไว้บริเวณชั้น 1คือ หนังสือใหม่ระหว่าง พ.ศ.2558-ปัจจุบัน
Liberty
ปณิธาน
พัฒนาองค์กร สู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
พันธกิจ
1.แสวงหา พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภท
2.การบริการที่เป็นเลิศ มุ่งเน้นผู้ใช้บริการ (User Focus)
3.พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้มีประสิทธิภาพ
4.พัฒนาห้องสมุดให้เป็นห้องสมุดวิจัย (Research Excellence)
5.พัฒนาระบบบริหารจัดการที่ดี มีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์
1.เพื่อให้บริการทางวิชาการ อันจะส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนการสอน การวิจัย ตลอดจนกิจกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัย และประชาชนทั่วไป
2.เพื่อเป็นหน่วยงานกลางการจัดหา จัดเก็บ และสงวนรักษาทรัพยากรสารสนเทศที่จะอำนวยความสะดวกในการแสวงหาความรู้ให้แก่ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากรของมหาวิทยาลัยและประชาชนทั่วไป
โครงสร้างการบริหารงาน